วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การทักทายที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ / Greetings


กฏในการเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษ / E-Mail Etiquette



 อีเมล์ / E-mail: คือการส่งจดหมายผ่านทางอินเตอร์เน็ต


ในโลกยุคไฮเทค ผู้ใดไม่รู้จักอีเมล์ ต้องถือว่าเชยมากๆ การสื่อสารด้วยอีเมล์ให้ความสะดวก รวดเร็วเกือบจะเรียกได้ว่า รู้เรื่องกันทันที ถ้าคุณนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตอนที่ผู้ส่งจดหมายกดคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งข้อความมาถึงคุณ ทุกสังคมในโลกต่างใช้การส่งจดหมายผ่านทางอินเตอร์เน็ตกันอย่างเป็นทางการแล้ว และจดหมายที่พิมพ์ออกมาจากอินเตอร์เน็ตก็ใช้ทำธุรกรรมต่างๆได้แล้วด้วย และกลุ่มคนที่ติดต่อสื่อสารกันทางอินเตอร์เน็ตก็เหมือนกับได้อยู่ในสังคมเดียวกัน คือสังคมอินเตอร์เน็ตนั่นเอง เมื่อเกิดเป็นสังคมขึ้นมา แน่นอนจะต้องมีการตั้งกฎ หรือมารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อสมาชิกในสังคมจะใช้เป็นหลักในการปฏิบัติตนให้ถูกต้อง ดังที่มีผู้เขียนไว้ดังนี้ 
Jana L. High: อินเตอร์เน็ตเป็นสถานที่มีไว้เพื่อเรียนรู้และหาความบันเทิง เราสร้างมันให้เป็นแหล่งบันเทิงสำหรับตัวเราและสมาชิกในสังคมอินเดอร์เน็ต ด้วยการแสดงออกอย่างสุภาพ สังคมอินเตอร์เน็ตเป็นสังคมใหญ่มีสมาชิกที่มาจากทั่วโลก และในสังคมอินเตอร์เน็ตนี้ผู้คนจะเกิดความประทับใจในตัวคุณได้ โดยดูจากคุณภาพของสิ่งที่คุณเขียนออกมา การได้เรียนรู้กฎการเขียนในอินเตอร์เน็ตอย่างท่องแท้ จะป้องกันการเกิดการเข้าใจผิดกันได้
กฎการเขียนอีเมล์

1. ถ้าจะต้องมีการเขียนถึงวันที่ ให้เขียนดังนี้  วัน / เดือน / ปี  เช่น  14 / 11 / 2011
2. หัวเรื่อง / subject line: หัวเรื่องต้องเขียนให้กระชับ ได้ใจความว่า อีเมล์ข้างล่างจะพูดเรื่องอะไร
3. คำขึ้นต้นจดหมาย / greetings and salutations

     คำขึ้นต้นที่เป็นทางการจะตามหลังชื่อด้วย ( : ) เช่น

        Dear Sir / Madam :
        Dear Mr. / Mrs. / Ms. Smith : ( ชื่อสกุล )
        Dear Mr. and Mrs. Smith : ( สามีและภรรยา )
        Dear Miss. / Ms. Smith : ( ชื่อสกุล , สาวโสด )


   คำขึ้นต้นที่ไม่เป็นทางการจะตามด้วย ( , ) เช่น

       Dear Tom,  ( ชื่อต้น )

4.  คำลงท้ายจดหมาย / Closing : คำลงท้ายจดหมายในอีเมล์ เช่น (ถ้าเป็นการส่งข้อความแบบไม่เป็นทางการไม่ต้องมีคำลงท้าย


     Sincerely yours,  
     Yours truly,


5. ลงชื่อ และใต้ชื่อใส่ที่อยู่อีเมล์ด้วย
6. การจัดเรียงข้อความ

   1. หลังคำขี้นต้นจดหมาย เคาะเว้นบรรทัด 2 ครั้ง
   2. ระหว่างย่อหน้า เคาะเว้นบรรทัด 2 ครั้ง
   3. เมื่อจบจดหมาย เคาะเว้นบรรทัด 2 ครั้งแล้ว ลงชื่อผู้เขียน

7. ในอีเมล์ภาษาอังกฤษห้ามพิมพ์ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เพราะนั่นถือเป็นการตะคอกใส่ผู้อ่าน หรือถ้าเขียนเป็นตัวเล็กหมด ผู้อ่านจะรู้สึกเหมือนคุณไม่มั่นใจอะไรสักอย่าง
8. ถึงแม้ว่าจะเขียนเมล์อย่างไม่เป็นทางการก็ตาม ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ก็อย่าลืมขึ้นต้นประโยคด้วยอักษรตัวใหญ่ทุกครั้ง
9. ก่อนจะกดปุ่ม send ก็โปรดอ่านข้อความที่เราเขียนให้รอบครอบอีกครั้ง ว่าตัวสะกดและไวยกรณ์ถูกต้องทั้งหมด
10. คำย่อที่ใช้เขียนในอีเมล์ที่เป็นที่รู้กจักกัน เช่น

   
     BFN             =         Bye For Now
     CYA            =          See You
     FAQ            =          Frequently Ask Questions
     FYI              =          For Your  information
     G8               =          Great
     KIT              =         Keep In Touch
     LTNS          =          Long Time No See
     NRN           =          No Reply Necessary
     PM              =          Private Message
     QSL            =          Reply
     RU              =          Are You
     TIA             =          Thanks In Advance
     <J>             =           Joking
     <L>            =           Laughing
     <S>            =           Smiling
     (((hug)))     =           A Hug



Reference: Jana L. High, Reader's Digest

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทำไมต้องเรียนรู้และฝึกมารยาททางสังคม

มารยาททางสังคม/ Etiquette 

ความหมายของคำว่ามารยาททางสังคม /  Etiquette : เป็นที่ทราบกันว่ามารยาททางสังคมคือกฏที่ใช้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องเมื่ออยู่ร่วมกันเป็นสังคม หรือในสังคมไทยเราเรียกว่า คุณสมบัติผู้ดี  หรือคือธรรมเนียมปฎิบัติที่คนในสังคมยอมรับว่าถูกต้องและถือปฏิบัติกันในหมู่ชนส่วนใหญ่

ทำไมต้องเรียนรู้และฝึกมารยาททางสังคม :  เมื่อเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคมของตนแล้ว ก็ต้องปฎิบัติตนให้เหมือนผู้อื่นที่อยู่ในสังคมเดียวกัน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้อื่นในสังคมนั้น ถ้าไม่เช่นนั้นสมาชิกผู้ปฏิบัติตนไม่เหมือนผู้อื่นก็จะไม่มีใครคบหา การจะมีชีวิตอยู่โดดเดี่ยวในสังคมคงจะไม่สนุกนัก

เป็นที่ทราบกันว่ามารยาทคือกฎที่ใช้ปฎิบัติตนให้ถูกต้อง อันจะเกิดผลดีแก่ตัวเราและผู้อื่น เช่น การเป็นบุคคลที่มีมารยาทดี รู้จักให้ความเคารพและให้เกียรติผู้อื่น อย่างนี้จะก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อกัน ทำให้ผู้ที่อยู่รอบๆรู้สีกอบอุ่นและปลอดภัย ตัวเราเองก็รู้สึกเป็นสุขอบอุ่นขณะอยู่ร่วมกับคนที่รู้จักคุ้นเคย และจะรู้สึกปลอดภัยถึงแม้จะอยู่ท่ามกลางคนแปลกหน้า อีกตัวอย่างหนึ่ง การเป็นคนมีมารยาทที่ดีในเวลารับประทานอาหาร มีทักษะในการพูดที่ไพเราะน่าฟังและน่าเชื่อถือ หรือรู้จักแต่งการให้เหมาะกับการะเทศะ เหล่านี้ล้วนเป็นภาพพจน์ที่น่าดู เมื่อไปพบปะกับผู้ใด เพื่อจุดประสงค์อันใด เช่นไปสัมภาษณ์งาน หรือไปเสนอขายสินค้า ก็มักจะประสบผลสำเร็จ อย่างที่เราทราบกันดีว่าความประทับใจเมื่อแรกพบดี เรามีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว


การมีมารยาทไม่ดี หรือมีความประพฤติที่สังคมไม่ยอมรับ จะก่อให้เกิดผลเสียได้มากมาย ดังที่มีผู้ทำการวิจัยไว้ เช่น งานวิจัยของนาย Will Felps พบว่า การมีคนที่ชอบทำผิดกฎอยู่เพียงคนเดียวในที่ทำงาน สามารถก่อให้การปฏิบัติงานและผลิตผลลดลงถึง 30-40 % ซึ่งเป็นไปดังคำกล่าวที่ว่า 
"One bad apple can really bring us down" หรือตามคำพังเพยของไทยว่า "ปลาตายตัวเดียวเหม็นไปทั้งข้อง" หรือ ในเรื่องของความรัก มีนักวิจัยท่านหนึ่งบอกว่า คู่รักจะคบกันได้นานถ้าทั้งคู่มีการปฏิบัติต่อกันไปในทางบวกบ่อยเป็นห้าเท่าของการปฏิบัติต่อกันในทางลบ

การจะเป็นบุคคลที่มีมารยามทางสังคมที่ดี ดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ถ้าเราไม่ได้รับการฝึกอบรมหรือเรียนรู้มาตั้งแต่เล็กแต่น้อย เราก็มักจะไม่คุ้นเคยและปฏิบัติตนไม่ถูกต้องเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น อันอาจเป็นผลให้เกิดการเข้าใจกันผิด หรือน้อยที่สุดอาจจะก่อความรำคาญให้ผู้อื่นแล้ว ตัวเราเองก็จะรู้สึกขัดเขินหรืออับอายได้ เหล่านี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมการเรียนรู้และฝึกมารยาทมีความจำเป็นต่อทุกคนในสังคม  

มารยาททางสังคมของสังคมคนในโลกมีความคลายคลึงและแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมและภูมิประเทศที่สังคมนั้นตั้งอยู่ แต่ทุกที่ก็มีวัตถุประสงค์สุดท้ายอย่างเดียวกัน คือ เพื่อให้สภาพสังคมนั้นเป็นสังคมที่ดี สมาชิกของสังคมนั้นอยู่กันอย่างเป็นสุข 

สำหรับโลกยุคปัจจุบันคนในโลกติดต่อสื่อสารกันสะดวกทั้งการเดินทางถึงกันหรือติดต่อผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีการทำธุรกรรมต่างๆนาๆเกี่ยวพันธ์กันทุกชาติ ทุกภาษา ฉะนั้นเพื่อให้การติดต่อสัมพันธ์กันในสังคมโลกเป็นไปอย่างราบรื่น เข้าใจกันง่ายขึ้น จึงหนีไม่พ้นที่คนในโลกจะต้องเรียนรู้มารยาทสังคมของกันและกันด้วย

มารยาททางสังคมของคนในโลกที่น่าสนใจมีมากมาย การได้เรียนรู้มารยาททางสังคมของคนอื่น ทำให้เราเข้าใจวิธีการแสดงออกของเขา หากเราต้องมีการติดต่อกับเขา เราก็จะคิดวางแผนได้ว่าเราควรจะปฎิบัติต่อเขาเช่นไร เพื่อทำให้เขาพอใจ  เหมือนเช่นที่ได้ยินกันบ่อยๆว่า รู้เขารู้เรา เข้าใจกันดี